KS ชูหุ้นเด่น 14 ตัว สำหรับการลงทุนปีหน้า  ADVANC, AWC, BGRIM, BLA, CPALL, EPG, GFPT, KCE, LH, OSP, PTG, SCB, SPRC และ STEC 

355 จำนวนผู้เข้าชม  | 

KS ชูหุ้นเด่น 14 ตัว สำหรับการลงทุนปีหน้า  ADVANC, AWC, BGRIM, BLA, CPALL, EPG, GFPT, KCE, LH, OSP, PTG, SCB, SPRC และ STEC 


ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย (KS) ประเมินตลาดหุ้นไทยปีหน้า (2565) มีดัชนีเป้าหมายที่ 1,680 จุด อิงจากกำไรต่อหุ้น (EPS) ที่ 95.53 บาท และ Earning Yield Gap (EYG) หรือ ส่วนต่างระหว่าง Earning Yield ของตลาดหุ้น เทียบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว ที่ 3.71% (-0.75 SD) เพราะเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยจะเติบโตดีกว่าปีนี้ โดยเศรษฐกิจไทย คาดว่าจะขยายตัว 3.7% จากสถานการณ์โควิดที่ดีขึ้น การเปิดพรมแดนใหม่อีกครั้ง มาตรการกระตุ้นทางการคลังอย่างต่อเนื่อง และการส่งออกที่แข็งแกร่ง รวมถึงอุปสงค์จากทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นน่าจะมีความท้าทายมากขึ้น เมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งหลังปีหน้า สำหรับบ้านเรา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คงยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จนกว่าจะเห็นการฟื้นตัวของปัจจัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น การท่องเที่ยว ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ว่า ตลาดหุ้นปีหน้าจะมีลักษณะใกล้เคียงกับปี 2560 ที่ Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยสามครั้ง ขณะที่ ธปท. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% เพื่อรองรับเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยปี 2560 ดัชนี S&P 500 (+22% YoY) และดัชนีตลาดหุ้นไทย (+13%) ให้ผลตอบแทนดี ก่อนปรับตัวลดลงในปีต่อมาที่  4% และ 13% ตามลำดับ จากผลกระทบสะสมของการปรับขึ้นดอกเบี้ย ที่เพิ่มแรงกดดันต่อตลาดหุ้นทั่วโลกและตลาดหุ้นไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเงินเฟ้อทั่วโลกยังคงสูงและใช้เวลาในการลดลงมากขึ้น

นอกจากภาวะเงินเฟ้อ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนอีก 2 ตัว คือ ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ และภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนแบบ hard-landing ส่วนปัจจัยการเมือง แม้การเลือกตั้งจะเป็นปัจจัยเชิงบวก แต่การหาเสียงเลือกตั้งอาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของภาคส่วนที่อ่อนไหวต่อการเมือง เช่น นิคมอุตสาหกรรม EV PPP และโครงการขนาดใหญ่

ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนปีหน้า ยังคงต้องลงทุนแบบ Selective Buy เน้นใน 6 Theme ดังนี้

1) ธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากจากการเลือกตั้ง คาดว่ารัฐบาลจะอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและโครงการโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อกระตุ้นการอุปโภคบริโภค และการลงทุน ภายในประเทศ ก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย (GDP) เติบโตประมาณ 4% แนะนำ CPALL, OSP,  LH และ STEC

2) ธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของการเดินทางเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากหยุดลงไปในช่วงก่อนหน้า (Pent-up demand) โดยมีความเป็นไปได้ว่า การเดินทางระหว่างประเทศในปี 2565 อาจเพิ่มขึ้น 2 ถึง 3 เท่าจากระดับปกติ จะช่วยกระตุ้นค่าการกลั่น (GRM) ของ SPRC และอัตราการเช่าพื้นที่ของ AWC ให้มีความโดดเด่นขึ้น

3) ธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ตามทิศทางของแนวนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น หลังวิกฤติโควิด-19 เอื้อต่อการเติบโตของสินเชื่อธนาคาร และส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) และเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ของบริษัทประกันภัย เลือก BLA และ SCB เป็น Top pick

4) ธุรกิจที่ได้ประโยชน์โดยตรงจากกระแสความนิยมของรถยนต์ ICE และ EV ที่เพิ่มขึ้น จะผลักดันการเติบโตของยอดขาย PCB โดยเฉพาะ KCE

5) ธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากการใช้ data usage 5G ที่เพิ่มขึ้น ทำให้การเร่งย้ายข้อมูลจากคลื่น 4G ไปยัง 5G IoT และ Metaverse ที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้ข้อมูล เลือก ADVANC เป็น Top pick

6) หุ้นกลุ่ม Anti-Commodities plays ซึ่งจะได้ประโยชน์ หากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง จากการผ่อนคลายข้อจำกัดด้านอุปทาน เพิ่มโอกาสในการ Trading หุ้นกลุ่มนี้เปิดกว้างขึ้น ซึ่งเมื่อคัดเลือกหุ้นที่น่าสนใจ ฝ่ายวิจัยแนะนำ PTG, GFPT, EPG และ BGRIM


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้