จัดพอร์ต ด้วยกลยุทธ์ Bottom Fishing

1574 จำนวนผู้เข้าชม  | 

จัดพอร์ต ด้วยกลยุทธ์ Bottom Fishing

การที่ตลาดหุ้นไทยในครึ่งแรกปีนี้ มีการปรับฐานกว่า 4.23% เพราะนักลงทุนทยอยลดความเสี่ยงในการลงทุนตามสงครามรัสเซีย - ยูเครน ที่ปะทุขึ้น จนบานปลายไปสู่การ Sanction ของนานาประเทศ จากนั้นทั่วโลกก็ต้องเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 อีกครั้ง ส่งผลให้จีนกลับมาใช้นโยบาย Lockdown การขนส่งระหว่างประเทศมีปัญหา เกิดภาวะ Supply Chain Shortage หลายประเทศขาดแคลนอาหาร วัตถุดิบ และพลังงาน ทำให้ราคาพลังงานปรับตัวเพิ่มตัวขึ้น เป็นตัวเร่งอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกให้พุ่งสูง จนมีผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอัตราที่สูง และน่าจะเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราสูงต่อเนื่องในไตรมาส 3 นี้ จนเกิดการคาดหมายว่า อาจเห็นเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอย (Recession)

ลำดับเหตุการณ์เหล่านี้ ทำให้ตลาดมีการปรับฐานใหญ่มาแล้ว 3 ครั้ง ก่อนจะเริ่มเห็นการฟื้นตัวให้ชื่นใจกันบ้าง กระนั้น นักลงทุนหลายคนยังมีข้อสงสัยว่า การฟื้นรอบนี้จริงหรือหลอก …. เพื่อหาคำตอบในประเด็นนี้ ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที (KTBST) ได้ทำ Check list เพื่อประเมินทิศทางตลาดหุ้น และพบว่า มี 5 ปัจจัยที่เป็นสัญญาณการปลดล็อค เพื่อ Confirm การฟื้นตัวของตลาดหุ้น ได้แก่

1.         ราคาหุ้น หรือดัชนีลงมาลึก จนเกิดสภาวะ Deep Discount
2.         อัตราเงินปันผล (Dividend Yield) ปรับตัวสูงขึ้นจนน่าสนใจ
3.         เงินบาทเริ่มแข็งค่า หรือหยุดอ่อนค่า (กนง. มีโอกาสประชุมเพื่อขึ้นดอกเบี้ย)
4.         สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน มีพัฒนาการที่ดีขึ้น
5.         เงินเฟ้อทั่วโลกและไทย ถึงจุดสูงสุด และกำลังปรับตัวลง 

หากประเมินจากสถานการณ์ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า มี 3 ใน 5 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ( 3 ข้อแรก) คือ ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงมาลึกแล้ว โดยมีจุดต่ำสุด บริเวณ 1,544.26 จุด ซึ่งอาจจะเป็นจุด Peak ส่วน Dividend Yield ปรับตัวสูงขึ้น พบว่า มีหุ้นที่ได้ประโยชน์จากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นจากสงครามรัสเซีย – ยูเครน ทำให้บริษัทฯ ในกลุ่มพลังงานมีแนวโน้มผลประกอบการที่ดี รวมถึงมี Dividend Yield ที่สูงขึ้น ขณะที่เงินบาทเริ่มแข็งค่าได้บ้าง โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา อยู่ที่ 35.09 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี และสามารถตีความได้ว่า น่าจะเริ่มเห็นเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติไหลกลับเข้าตลาดหุ้นไทย

ซึ่งเมื่อคัดเลือกหุ้นที่ลงมาลึก เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวจากเศรษฐกิจในประเทศ และมีปัจจัยเฉพาะตัวหนุน ทาง KTBST ได้ทำการคัดกรองหุ้นที่แนวโน้มผลประกอบการครึ่งปีหลังน่าจะออกมาดี และราคามีแนวโน้มจะเริ่มไต่ระดับขึ้นหลังจากปรับฐานในครึ่งปีแรก โดยใช้ Theme ลงทุนแบบ "Bottom Fishing" คือ เมื่อตลาดหุ้นขึ้น หุ้นจะขึ้นตาม มี Upside มาก แต่ถ้าตลาด Sideway หรือปรับฐานต่อ ก็จะมี Down Side จำกัด เข้าทำนอง "Win-Win Strategy" คัดเลือกได้หุ้น 6 ตัว คือ KCE, CK, ADVANC, IRPC, CBG และ WICE

แต่หากมองการลงทุนระยะสั้น เฉพาะเดือนกรกฎาคมนี้ มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นดัชนีปรับตัวขึ้นมายืนเหนือ 1,600 จุด ากปัจจัยหนุนมาตรการผ่อนคลายโควิด-19 และการเปิดประเทศอย่างเต็มตัว ซึ่งหากเงินบาทเริ่มกลับมาแข็งค่าได้ จะช่วยให้เม็ดเงินของนักลงทุนต่างชาติมีโอกาสไหลกลับเข้ามาในตลาดหุ้น ขณะที่ปัจจัยเสี่ยง ยังคงเป็นตัวแปรต่างประเทศทั้ง สถานการณ์รัสเซีย – ยูเครน และท่าทีในการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ซึ่งคาดว่าจะสร้างแรงกดดันตลาดได้เป็นระยะๆ 

ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนเดือนกรกฎาคมนี้ ควรเลือกหุ้นที่ได้อานิสงส์จากการเปิดประเทศ ราคาปรับตัวลงมาลึก และหุ้นที่มีแนวโน้มผลประกอบการที่ดี ส่วนหุ้นน้ำมันหรือพลังงาน เก็งกำไรช่วงสั้นตามราคาน้ำมันที่คาดว่าจะยังดีในเดือนนี้ โดยมีหุ้น Top picks 7 ตัว คือ BANPU, BEM, CKP, CPALL, IVL, KCE, SMPC

BANPU (ราคาเป้าหมาย 16 บาท) คาดกำไรปกติไตรมาส 2 ทำสถิติใหม่ แม้ Hedging loss อาจยืนสูง
BEM (ราคาเป้าหมาย 10.20 บาท) แนวโน้มกำไรไตรมาส 2 ฟื้นตัวสูง และเตรียมยื่นซองสายสีส้ม 27 ก.ค. นี้
CKP (ราคาเป้าหมาย 7.40 บาท) เตรียมเข้าสู่ช่วง high และ peak season ขณะที่โครงการหลวงพระบางรอ PPA อย่างเป็นทางการในครึ่งปีหลังนี้
CPALL (ราคาเป้าหมาย 72 บาท) ทยอยขยายสาขาตามแผน ขณะที่ SSSG ฟื้นตัวต่อเนื่องรับการเปิดเมือง-เปิดประเทศ
IVL (ราคาเป้าหมาย 70 บาท) คาดกำไรไตรมาส 2 แกร่งหนุนด้วย core EBITDA ที่ยืนสูงและเริ่มรับรู้กำไรจาก Oxiteno
KCE (ราคาเป้าหมาย 80 บาท) คาดกำไรปกติไตรมาส 2 เติบโต YoY และ QoQ จาก Efficiency การผลิตดีขึ้น
SMPC (ราคาเป้าหมาย 19 บาท) แนวโน้มกำไรไตรมาส 2 ยังเติบโตโดดเด่น จากยอดขายถังแก๊สที่สูงต่อเนื่อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้