SCBAM เปิดขาย IPO กองทุนหุ้นอินโดนีเซีย 20-26 ก.ย.นี้

2057 จำนวนผู้เข้าชม  | 

SCBAM เปิดขาย IPO กองทุนหุ้นอินโดนีเซีย 20-26 ก.ย.นี้

การที่เศรษฐกิจอินโดนีเซียมีแนวโน้มเติบโตสูงระดับ 5.3-5.8% ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ขับเคลื่อนจากหลายปัจจัย ทั้งขนาดตลาดที่ใหญ่จากจำนวนประชากรที่มากเป็นอันดับ 4 ของโลก มีเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าสูงอย่างต่อเนื่อง เพราะมีวัยแรงงานสูง แต่ค่าจ้างต่ำ อีกทั้งเงินเฟ้อต่ำ ช่วยสนับสนุนให้ภาคการผลิต และการบริโภคมีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ตลาดหุ้นมี Valuation น่าสนใจ และมีความสัมพันธ์กับตลาดอื่นๆ ในระดับต่ำ จึงเป็นทางเลือกในกระจายความเสี่ยงในการลงทุนที่คุ้มค่า และยังเปิดโอกาสให้สามารถหาผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาวที่เปิดกว้าง

ดังนั้น บลจ. ไทยพาณิชย์ (SCBAM) จึงเปิดตัวกองทุนเปิด ไทยพาณิชย์ อินโดนีเซีย ชนิดสะสมมูลค่า SCBINDO(A) ไม่มีการจ่ายปันผล ดีเดย์เสนอขายครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 20 – 26 กันยายนนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขการลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท   

ทั้งนี้ กองทุน SCBINDO(A) จะเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองเดียว (Feeder Fund) คือ กองทุน VanEck Indonesia Index ETF ซึ่งจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ NYSE Arca ในอเมริกา ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (NAVs) ภายใต้การบริหารและจัดการโดย Van Eck Associates Corporation

ส่วนที่เหลือ 20% ของ NAVs อาจลงทุนผ่านหน่วยลงทุนของกองทุนรวม หรือกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งอยู่ภายใต้การจัดการ เพื่อหาผลตอบแทนแบบสม่ำเสมอเพิ่มเติม

ซึ่งกองทุนหลัก VanEck Indonesia Index ETF มีนโยบายลงทุนอย่างน้อย 80% ของสินทรัพย์ ในหุ้นที่อยู่ในดัชนีอ้างอิงของกองทุน ซึ่งประกอบด้วย หุ้นในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย รวมถึงบริษัทที่จัดตั้งขึ้นทั้งในและนอกประเทศอินโดนีเซีย แต่มีรายได้ หรือสินทรัพย์อย่างน้อย 50% ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในอินโดนีเซีย เพื่อมุ่งสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้ได้ใกล้เคียงกับผลดำเนินงานของดัชนี MVIS Indonesia Index

หลักการลงทุน เน้นลงทุนหุ้นขนาดใหญ่ และกลาง ที่มีสภาพคล่องสูง ครอบคลุม 85-90% ของ free float Market cap ในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับอินโดนี เซีย คัดเลือกหุ้นด้วยระบบวิเคราะห์ เชิงปริมาณ พร้อมกำหนดเพดานการลงทุนหุ้ นรายตัวสูงที่สุด 8% เพื่อป้องกันการกระจุกตั วในการลงทุน ส่งผลให้มีจำนวนบริษัทในการลงทุ นอย่างน้อย 25 บริษัท อาทิ Bank Central Asia Bank, BRI, Bank Mandiri Telecom Indonesia, Goto Gojek Tokopedia

นอกจากนี้ กองทุนอาจมีการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ (derivative) หรืออาจลงทุนในตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุนได้ด้วย ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน

ที่สำคัญ กองทุนจะมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนแบบเต็มตัว ในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่าการลงทุนอีกด้วย 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้