บลจ.ทาลิส เปิดขาย IPO กองทุนหุ้น Top brands Top 10 ทั่วโลก 8-20 ธ.ค. นี้ ทั้งกองทุนหุ้นปกติ และคู่แฝดภาษี SSF-RMF ส่งท้ายปีนี้

2974 จำนวนผู้เข้าชม  | 

บลจ.ทาลิส เปิดขาย IPO กองทุนหุ้น Top brands Top 10 ทั่วโลก 8-20 ธ.ค. นี้ ทั้งกองทุนหุ้นปกติ และคู่แฝดภาษี SSF-RMF ส่งท้ายปีนี้


จากการศึกษาผลดำเนินงานในการลงทุนหุ้น Top Brands ทั่วโลก 14 ปี นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2551 ถึงเดือนกรกฎาคมปีนี้ ทาง บลจ.ทาลิส (TALISAM) พบว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ ให้ผลตอบแทนชนะตลาด อ้างอิงจากดัชนี S&P500 มากถึง 11 ปี ดังนั้น บลจ. ทาลิส จึงตัดสินใจเปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) กองทุนเปิดเมกา 10 (MEGA 10) ที่เน้นลงทุนในหุ้น Top Brands ทั่วโลก ที่คัดมาเน้นๆ 10 ตัว ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 8–20 ธันวาคมนี้ ด้วยเงื่อนไขการลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท โดยนำเสนอรวดเดียว 3 แบบ คือ แบบสะสมมูลค่า MEGA 10-A แบบเพื่อการออม (MEGA 10-SSF) และแบบเพื่อการเลี้ยงชีพ (MEGA 10-RMF) ซึ่ง 2 แบบหลัง ผู้ลงทุนจะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในโค้งสุดท้ายปีนี้เพิ่มเติมเข้ามา




ทั้งนี้กองทุนทั้ง 3 แบบ จะมีนโยบายลงทุนเหมือนกัน โดยเน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นบริษัทที่เป็นผู้นําในด้านตราสินค้า (Brand Value) จากการจัดอันดับโดยบริษัทที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในเรื่องการจัดอันดับดังกล่าว โดยผู้จัดการกองทุนจะพิจารณาเลือกลงทุนในตราสารทุนของบริษัทจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) และสภาพคล่องสูงสุด 10 บริษัทแรก โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (NAVs) ส่วนที่เหลือ กองทุนจะดำรงสถานะการถือเงินสด หรือลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เพื่อรอจังหวะในการลงทุน

สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกหลักทรัพย์ที่กองทุนเข้าลงทุน จะมี 3 ขั้นตอน ขั่นตอนแรก จะคัดเลือกบริษัทที่เป็นผู้นําในด้านตราสินค้า (Brand Value) ที่ดีทั่วโลก ขั้นตอนที่ 2 จะคัดเลือกบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) สูงสุดที่จดทะเบียนซื้อขายทั้งในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค (NYSE) และนาสแด๊ก (NASDAQ) จำนวน 10 บริษัท และมีตราสารทุนสำรอง 5 บริษัท และขั้นตอนสุดท้าย คัดเลือกจากสภาพคล่องสูงสุด 10 อันดับแรก โดยพิจารณาจากมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน ( Average Daily Turnover) เทียบกับขนาดของกองทุน โดยไม่ใช้การวิเคราะห์มูลค่า (Valuation) แล้วกองทุนจะลงทุนในตราสารทุนจำนวน 10 บริษัทในสัดส่วนการลงทุนที่ใกล้เคียงกัน




ขณะเดียวกัน กองทุนจะมีการบริหารแบบ Rules based Approach โดยมีการปรับสมดุลของสัดส่วนน้ำหนักการลงทุน (Rebalance) รวมถึงปรับรายชื่อหลักทรัพย์การลงทุนทุกรอบระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ที่มีผลกระทบกับราคาหลักทรัพย์ที่กองทุนเข้าลงทุนในช่วงระยะเวลาก่อนการปรับสัดส่วน อาจทำให้ผลดำเนินงานไม่เป็นไปตามความคาดหวังของผู้ลงทุนบางกลุ่มที่ต้องการให้กองทุนบริหารจัดการแบบ active management ที่ปรับ Portfolio กองทุนอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการบริหารกองทุนนี้ยึดหลักปรัชญาว่า ราคาของตราสารในขณะใดๆ ในตลาดที่มีประสิทธิภาพอย่างตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ย่อมสะท้อนเหตุการณ์และความคาดหวังของตลาดนั้นแล้ว ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงรายชื่อหลักทรัพย์ถี่เกินไปจะทำให้เกิดต้นทุนการซื้อขายที่ไม่จำเป็น และมีความเสี่ยงจากการที่ผู้จัดการกองทุนใช้อารมณ์มากกว่าการมีวินัยในการลงทุน ซึ่งจะไม่เป็นผลดีกับกองทุนในระยะยาว

สำหรับวัตถุประสงค์ในการลงทุน มุ่งหวังให้ผลดำเนินงานเคลื่อนไหวสูงกว่าดัชนี S&P 500 Total Return ปรับด้วยต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อค่านวณผลตอบแทนเป็นสกุลเงินบาท ณ วันที่ค่านวณผลตอบแทน

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้